สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

{{ date }}

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

เมื่อปีพุทธศักราช 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นป่าผืนใหญ่ ซึ่งยังเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงมี พระราชดำรัสว่า

"พื้นที่บนภูเขาเป็นที่ราบสูง กว้างขวาง มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ และยังมีสัตว์อยู่ มากมายหลายชนิด เหมาะสมที่จะอนุรักษ์ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพัฒนาให้เป็น สวนสัตว์ป่าเปิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และส่งเสริมการท่องเที่ยว ต่อไปในอนาคต และการที่จะดำเนินการ ให้เป็นผลสำเร็จนั้น จะต้องยับยั้ง ไม่ให้ประชาชนบุกรุกป่า และล่าสัตว์ โดยพัฒนาหมู่บ้าน บริเวณใกล้เคียงภูเขียวทั้งหมด ให้มีความเจริญ พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพ ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ อย่างมีความอยู่ดีกินดี ส่งเสริมให้ประชาชน มีความรับผิดชอบ รักป่าและสัตว์ป่า จะได้ช่วยกันดูแล ป้องกันมิให้ราษฎร จากหมู่บ้านอื่นๆ ขึ้นไปล่าสัตว์ป่าด้วย "

จากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนองพระราชดำริ โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2530 ราชเลขานุการในพระองค ์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม เพื่อจัดทำแผนงาน โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวขึ้น โดยการวางแผน เกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน โดยรอบภูเขียว ให้มีความอยู่ดีกินดี ปลูกฝังให้รักป่า และสัตว์ป่า รวมทั้งวางแผน ในการปล่อยสัตว์ป่า โดยการจัดงาน วันอิสรภาพของสัตว์ป่าไทย ขึ้น

โดยกำหนดที่ตั้งโครงการ บริเวณรอยต่อ อำเภอหนองบังแดง อำเภอคอนสาร อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาได้มีการจัดงาน "วันอิสรภาพของสัตว์ป่าไทย" ขึ้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2530 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน ในการปล่อยสัตว์ป่า ที่นำมาจากที่ต่างๆ ให้คืนสู่ป่าในภูเขียว กระทำพิธี ณ บริเวณทุ่งกะมัง มีประชาชนนำอาวุธล่าสัตว์ป่า มามอบจำนวนมาก

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ไปกระทำพิธีปล่อยสัตว์ป่า ที่บริเวณทุ่งกะมัง เมื่อ 21 ธันวาคม 2535 ในพิธีดังกล่าว มีประชาชนในหมู่บ้านรอบภูเขียว จำนวนมากมอบอาวุธล่าสัตว์ป่า และกล่าวปฏิญาณตนว่า จะไม่เข้าไปล่าสัตว์ป่า และบุกรุกทำลายป่าอีกต่อไป

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า มีที่ตั้งอยู่ บริเวณรอยต่อ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอคอนสาร, อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่บนภูเขา เป็นที่ราบสูงกว้างขวาง มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ และยังมีสัตว์ป่าอยู่ มากมายหลายชนิด เหมาะสมที่จะอนุรักษ์ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพัฒนาให้เป็น สวนสัตว์ป่าเปิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวในอนาคต

โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ทุ่งกะมัง จังหวัดชัยภูมิ

ประวัติความเป็นมา

เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้จัดตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยที่รัฐบาลเล็งเห็นว่า พื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพรม มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าที่มีคุณค่า หลายชนิดอาศัยอยู่ในท้องถิ่นนี้ โดยเฉพาะ กระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน ที่กำลังจะสูญพันธุ์ไป ก็มีอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย นอกจากนั้นยังเป็น แหล่งอาศัยของ กระทิง วัวแดง ช้างป่า เลียงผา เสือโคร่ง เสือดาว และนกที่สำคัญหลายชนิด เช่น นกยูง นกเป็ดก่า นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก นกกก เป็นต้น

พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งรวม ของพันธุ์ไม้ที่สำคัญนานาชนิด หลายชนิด เป็นไม้ที่มีค่าทางด้านป่าไม้ และการเกษตร ควรที่จะสงวนไว้ เป็นแหล่งพันธุกรรม และแหล่งเมล็ดพันธุ์ต่อไปในอนาคต เนื่องจากพื้นที่อยู่ในระดับสูง จึงเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ของพื้นที่เกษตรในที่ราบ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยเฉพาะเป็นแหล่งต้นน้ำ ของลำน้ำพรมอันเป็นสาขาหนึ่งของ ลำน้ำชี นอกจากนี้ยังมีสภาพภูมิประเทศ อันสวยงามเหมาะ กับการพักผ่อนหย่อนใจ ทางธรรมชาติ ดังนั้นทางรัฐบาล จึงได้ประกาศให้พื้นที่ป่าภูเขียว เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าชื่อว่า "เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว" ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 154 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2515

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 ซึ่งออกตามความใน พระราชบัญญัติสงวน และ คุ้มครองสัตว์ พ.ศ.2503 ได้มีการผนวกพื้นที่ บางส่วนเพิ่มเติม จนปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่ทั้งหมด 1,560 ตารางกิโลเมตร หรือ 975,000 ไร่ รวมเอาพื้นที่ใน ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร ตำบลบ้างยาง ตำบลบ้านค่า ตำบลกุดเลาะ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตำบลนางแดด ตำบลหนองแวง ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

ประวัติความเป็นมา ในพื้นที่นี้นับจากปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา พื้นที่ส่วนนี้ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ขึ้นกับป่าไม้เขตจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ป่าโครงการ ไม้กระยาเลยภูเขียวหมวดที่ 4 มีการทำไม้บางส่วนออกมา ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2508 จนถึงปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะประกาศเป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว เพื่อเป็นการนำไม้ออกจากพื้นที่ จึงมีการตัดเส้นทางชักลากไม้ ออกจากอำเภอคอนสาร ผ่านทุ่งลุยลาย ไปสู่บางม่วงและทุ่งกระมัง ต่อไป

จนถึงแปน และห้วยแหลหนองป่าเตย เนื่องจากเส้นทางสายนี้ ทำให้ราษฎรเดินทางเข้าไปบุกรุก ทำลายป่าอันสมบูรณ์ ส่วนนี้อย่างรวดเร็ว โดยพัฒนาจากหมอนไม้ หรือที่พักคนงาน กลายเป็นหมู่บ้านใหญ่น้อย โดยเฉพาะบริเวณทุ่งกะมัง บึงมน บึงแปน ห้วยแหลป่าเตย ศาลาพรม นอกจากการทำไม้แล้ว ราษฎรเหล่านี้ยังหักร้างถางพง เพื่อทำนาและปลูกพืชไร่ พร้อมทั้งทำการล่าสัตว์ป่า เพื่อเป็นอาหาร และส่งออกขายในตัวเมือง โดยเฉพาะกระซู่ ที่เป็นสัตว์ป่าสงวน ที่หายากมาก ได้ถูกล่าไปแล้วถึง 3 ตัว ในบริเวณทุ่งกะมัง

อันเนื่องมาจากการที่ สัตว์ป่าสงวนที่สำคัญ ได้ถูกลักลอบล่า และป่าไม้ถูกทำลายนี้เอง ทำให้ นายศักดิ์ วัฒนากุล ป่าไม้จังหวัดชัยภูมิในสมัยนั้น (พ.ศ.2513) ได้เสนอกรมป่าไม้ ให้ประกาศพื้นที่นี้เป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยด่วน กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกทำการสำรวจ และประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามประกาศคณะปฎิวัติดังกล่าว

ในชั้นแรกครอบคลุม พื้นที่เพียง 1,314 ตารางกิโลเมตร พร้อมทั้งอพยพราษฎร ออกจากทุ่งกะมังเป็นจำนวน 40 ครอบครัว และจากศาลาพรมอีกจำนวน 100 ครอบครัว กลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิม รวมทั้งราษฎรอีกจำนวนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บริเวณบึงแปนด้วย ราษฎรเหล่านี้บางส่วน ได้จัดที่ทำกินให ้โดยจัดตั้งเป็นโครงการพัฒนาที่ดิน บ้านทุ่งลุยลาย งานอพยพราษฎรในพื้นที่ กลายเป็นพื้นที่มีปัญหา อันเนื่องมาจาก ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้าไปอยู่อาศัย และขัดขวางการทำงาน ของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ในปี พ.ศ.2520 ทางกรมป่าไม จึงได้จัดตั้ง สำนักงานส่วนกลาง ของเขตการรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชั่วคราวขึ้นที่ศาลาพรม และจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ป่า และฐานปฏิบัติการเฉพาะกิจ ป้องกันปราบปราม การบุกรุกทำลายป่า (ศปป.) กระจายอยู่ตามจุดที่ล่อแหลม ต่อการบุกรุกทำลายป่า รอบแนวเขตเพื่อควบคุมรักษาป่า บริเวณเชิงเขาอันเป็นแนวกันชน และสกัดกั้นการขึ้นลงภูเขียวภารกิจนี้ต่อมาได้รับความร่วมือจาก ตำรวจตระเวณชายแดน และ กองทัพภาคที่ 2 โดยมีเป้าหมาย ที่จะจัดตั้งหน่วยบริหารกลาง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ที่บริเวณ ทุ่งกะมังต่อไป

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 เมื่อรัฐบาลได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใหม่ โดยผนวกพื้นที่ เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ตารางกิโลเมตร ทำให้ครอบคลุมหมู่บ้านราษฎร ที่บุกรุกเข้าไปอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ อีกหลายหมู่บ้าน ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ จึงจำเป็นต้องวางแผน อพยพราษฎรเหล่านั้น ออกไปจากพื้นที่อีก แต่เนื่องจากการขัดขวาง ของผู้ก่อการร้าย ทำให้งานโยกย้ายราษฎร ออกจากพื้นที่กระทำได้ไม่เต็มที่ จนถึง พ.ศ.2524 เมื่อสภาพทางการเมือง คลี่คลาย ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ อ่อนกำลังลง

การโยกย้ายราษฎร จึงได้กระทำต่อใน เดือนเมษายน พ.ศ.2525 หน่วยราชการหลายฝ่าย ได้ร่วมมือกันอพยพราษฎร จำนวน 96 ครอบครัว ออกจากบริเวณหนองไร่ไก่ และใน เดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน พ.ศ.2526 ได้ร่วมกันอพยพราษฎรจำนวน 208 ครอบครัว ออกจากบริเวณพรมโซ้ง ผาผึ้ง และซับเตยเข้าไปอยู่ใน โครงการพัฒนาป่าดงลานที่ 2 บ้านอ่างทอง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น พื้นที่นาร้าง และไร่ร้างหลายแห่ง ได้ กลายเป็นทุ่งหญ้าถาวร อันเนื่องจากไฟป่า จึงทำให้กลายเป็น แหล่งอาหารสัตว์ อันอุดมสมบูรณ์ มาจนปัจจุบัน

เนื่องจากสภาพใจกลาง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบบนเขาสูง จึงทำให้การจัด สร้างทางรถยนต์เข้าออก ได้เพียงเส้นทางเดียว คือเส้นทางเข้าเขื่อนจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเส้นทางแยก เข้าพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แห่งนี้ที่ปางม่วง ตามเส้นทางชักลากไม้เก่า

ที่ตั้งอาณาเขต

สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ทุ่งกะมัง (ใจกลางป่าภูเขียว) ห่างจากอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ตามเส้นทางรถยนต์ 82 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมท้องที่ ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร ตำบลนางแดด ตำบลหนองแวง ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลกุดเลาะ ตบลบ้านยาง ตำบลหนองข่า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ โดยมีพื้นที่ 1,560 ตารางกิโลเมตร หรือ 975,00 ไร่ ซึ่งขณะนี้ได้สำรวจหมายแนวเขต ขยายเพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งสิ้น 1,125,000 ไร่ o ทิศเหนือ จด อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
→ ทิศตะวันออก จด ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม เขื่อนห้วยกุ่ม และ อำเภอเกษตร- สมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
→ ทิศใต้ จด อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
→ ทิศตะวันตก จด แนวเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินทราย ซึ่งปรากฏมีหน้าผาสูงชัน เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,200 เมตร พื้นที่บางแห่งมีดินตื้นจะมีลานหิน และสวนหินเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่แปลกตา และสวยงาม ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ

มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูน สลับซับซ้อนและสูงชัน ประกอบด้วยถ้ำขนาดใหญ่สวยงามหลายแห่ง มีความสูง 1,242 เมตร เช่น เขาอุ้มนาง ซึ่งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือใกล้จังหวัดเพชรบูรณ์ ภูเขียวมีสภาพป่าที่สมบูรณ์และภูเขาสูง

เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญยิ่งของลำน้ำพรม และแม่น้ำชี ทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เป็นต้นกำเนิดห้วยดาด ห้วยไม้ซอด ห้วยซาง ฯลฯ ซึ่งไหลลงลำน้ำพรม ส่วนด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เป็นต้นกำเนิดของลำสะพุง และแม่น้ำชี ซึ่งมีต้นน้ำมาจากห้วยเล็กๆ หลายห้วย เช่น ห้วยไขว้ ห้วยเพียว ห้วยป่าเตย ลำสะพุงน้อย ลำสะพุงลาย

ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องที่ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอหนองบัวแดง และแหล่งชุมชนหลายจังหวัด จนไปรวมกับลำนำโขง ที่จังหวัดอุบลราชธาน

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศโดยทั่วไปเย็น และชื้นเนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร มีป่าทึบปกคลุมเป็นส่วนมาก และอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู

ภูมิอากาศโดยทั่วไปเย็น และชื้นเนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร มีป่าทึบปกคลุมเป็นส่วนมาก และอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู

ฤดูฝน จะมีฝนตกชุกตั้งแต่ เดือนเมษายน ไปจนถึง เดือนพฤศจิกายนของทุกปี แต่อาจจะมีทิ้งช่วงบ้างใน เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม โดยตกหนักมากใน เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนประมาณ 2,000 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ต่อปี

ฤดูหนาว อุณหภูมิเริ่มหนาวเย็นตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน และหนาวจัดใน เดือนธันวาคม - เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยช่วงนี้ประมาณ 10 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 2 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกุมภาพันธ์ ถึงปลาย เดือนเมษายน แต่ในช่วงนี้อาจมีฝนตกบ้าง อากาศตอนกลางคืนยังคงเย็น อุณหภูมิกลางวันเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส

ชนิดป่าพันธุ์พืช และสัตว์ป่า

ชนิดป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ซึ่งประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา นอกนั้นมีป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ทุ่งหญ้า พันธุ์พืชประกอบด้วย ไม้ยาง ตะเคียนหนู ตะแบก มะค่าโมง มะค่าแต้ กระเบาหลัก แต่ตามหุบเขาหรือบริเวณลำห้วย ลำธารจะรกทึบยิ่งขึ้นกลายเป็นป่าดงดิบชื้น และอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบชื้น ได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง กะบก มะม่วงป่า มะพลับ มะแฟง มะไฟ ชมพู่ป่า และมีเถาวัลย์พันธุ์ไม้พื้นล่าง เช่น บอนป่า หวาย ระกำ ไม้ไผ่ต่างๆ ขึ้นปกคลุมหนาแน่น ตามยอดเขาซึ่งมีระดับสูง ตั้งแต่ 300 เมตร ขึ้นไปก็มักจะมีสนเขาขึ้นเป็นชนิด สนสองใบ และ สนสามใบ ขึ้นอยู่ประปรายทั่วไป สลับกับพันธุ์ไม้ป่าดิบเขา จำพวกก่อ ซึ่งปรากฏขึ้นอยู่หนาแน่น เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ป่าเบญจพรรณ ปรากฎเป็นหย่อมเล็กๆ ตามเนินเขาที่ไม่สูงมากนัก มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญอยู่ ได้แก่ มะค่าโมง ตะแบก แดง ประดู อ้อยช้าง มะกอก ไม้ไผ่ ฯลฯ ในบริเวณที่ดินตื้น หรือลูกรังตามเนินเขา จะเป็นป่าเต็งรัง พะยอม เหียง มะกอก ตะแบก มะขามป้อม ยอป่า ลมแล้ง และ กระโดน เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้า ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สลับกับป่าโปร่งตามบริเวณยอดเขา ที่มีดินตื้นยังมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง และแหล่งในลักษณะเป็นบึง ตามธรรมชาติอีกหลายแห่ง เช่น ทุ่งกะมัง บึงแปน บึงแวง บึงมน บึงคร้อ และ บึงยาว สลับกับป่าดงดิบที่แน่นทึบ ซึ่งทำให้สัตว์ป่าอาศัยอยู่ อย่างชุกชุมมากมายหลายชนิด แม้กระทั่งกระซู่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่า และใกล้จะสูญพันธุ์ของประเทศไทย ก็ยังพบร่องรอยอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมี เลียงผา ช้างป่า กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว กวาง เก้ง กระจง หมี ชะนี ลิง ค่าง หมูป่า ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมขนาดใหญ่ และนกต่างๆ ที่หายาก เช่นไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว นกยูง นกเงือกชนิดต่างๆ นกกางเขนดง นกหัวขวานหลายชนิด ฯลฯ คาดว่า เมื่อได้ทำการสำรวจโดยละเอียด จะได้พบสัตว์ป่าใหม่ๆ แปลกๆ อีกหลายชนิด

แหล่งความงามตามธรรมชาติ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว นับว่าเป็นแหล่งป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ที่เหลืออยู่ไม่มากใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าทั้งหมดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งความงาม ตามธรรมชาติที่สำคัญของภาค ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว นอกจากจะประกอบด้วยป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบแล้ง ป่าเต็งรังผสมสน ป่าผสมผลัดใบ และป่าเต็งรังแล้ว ยังมีทุ่งหญ้า และลานหินอยู่หลายแห่ง แต่สังคมพืชเหล่านี้ นอกจากมีโครงสร้างที่แปลกตาแล้ว ยังมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ และสวยงาม ทั้งรูปทรงและมีสีสรรของดอก อีกจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกล้วยไม้ และไม้ล้มลุกอีกหลายชนิด รวมถึงกุหลาบภูชนิดดอกแดง และดอกขาว นอกจากไม้ป่าที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว ยังเป็นแหล่งสัตว์ป่า ที่ช่วยให้ธรรมชาติป่าเขา มีชีวิตชีวา และมีความสวยงามยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่เด่นนี้เช่น ช้างป่า วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว หมี กวาง หมูป่า และ เก้ง ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง นกอีกเป็นจำนวนมากมาย หลายชนิดก็เป็นจุดเด่น ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่พื้นที่แห่งนี้ เช่น นกเป็ดก่า นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าพญาลอ และ นกยูง เป็นต้น ความสวยงามที่น่าสนใจ ของป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้ง ภายในประเทศ และต่างประเทศ นอกจากความงามทั่วไป ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีจุดเด่นเฉพาะหลายแห่งด้วยกันคือ
→ บึงแปน
→ ภูคิ้ง
→ ผาเทวดา
→ ลานจันทร์ และ ตาดหินแดง
→ น้ำตกห้วยทราย น้ำตกไทรย้อย น้ำตกตาดคร้อ และ น้ำตกนาคราช

ทุ่งกะมัง

เป็นทุ่งที่เกิดจากการทำลายป่า ของราษฎรที่ขึ้นไปบุกรุกป่าธรรมชาติ เพื่อปลูกพืชและตั้งหลักแหล่ง แต่เดิมคงมีที่ว่าง ที่เป็นแอ่งน้ำขนาดเล็ก ในป่าเต็งรังผสมผสานมาก่อน ราษฎรที่บุกรุกจึงได้ขยายทุ่งหญ้า ให้กว้างขึ้นเพื่อทำนา และปลูกพืช เมื่อจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว ก็ได้ย้ายราษฎรเหล่านั้นออกไป พื้นที่ส่วนนี้จึงกลายเป็น ทุ่งหญ้าอันกว้างขวาง ส่วนใหญ่เป็นหญ้าเพ็ก และ หญ้าหวาย มีพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก ขึ้นอยู่ประปราย เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง เอนอ้า แววมยุรา และหญ้าพง

บริเวณโดยล้อมรอบด้วย ป่าเต็งรังผสมสน และป่าดงดิบเขาระดับต่ำ กลางทุ่งมีลำห้วยไหลผ่าน สามสายด้วยกัน ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงให้สร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อสัตว์ป่าขึ้นสามอ่าง และทรงได้สร้างพระตำหนักพักผ่อนขึ้น บริเวณชายทุ่งทางด้านทิศตะวันตกด้วย จึงทำให้บรรยากาศบริเวณทุ่ง มีความแปลกใหม่ยิ่งขึ้น

บริเวณอ่างเก็บน้ำเหล่านั้น กลายเป็นแหล่งอาศัยของนกนานาชนิด ที่ผู้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ สามารถพบเห็นได้โดยตลอด นกสำคัญเช่น นกเป็ดแดง นกเป็ดก่า นกอีล้ำ นกกระยาง นกกระเต็นชนิดต่างๆ เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น กวาง กระทิง หมีควาย ช้างป่า อีเก้ง เป็นต้น กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้สร้างหอดูสัตว์ขึ้นเ พื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ได้ใช้เป็นที่ชมสัตว์ป่า และธรรมชาติของตัวทุ่ง นกจากนี้ยังมีเส้นทางโดยรอบ เพื่อการสัมผัสธรรมชาติ อย่างแท้จริงอีกด้วย

ข้อมูลจาก : www.prd2.in.th