สภานายิกาสภากาชาดไทย


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงดำรงตำแหน่งสภายิกาสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2599 สืบต่อจากสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ปรากฏความในประกาศตั้งสภานายิกาสภากาชาดไทย ดังนี้

"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตั้งแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผู้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทยเสด็จสวรรคตไปแล้ว ตำแหน่ง สภานายิกาสภากาชาดไทยยังว่างอยู่ คณะรัฐมนตรีได้ทูลเกล้าฯ ภวายความเห็นขอให้ทรงตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทยพระพุทธศักราช 2461 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย

ประกาศ ณ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เป็นปีที่ 11 ในรัชกาลปัจจุบัน"

สภากาชาดไทยเป็น องค์กรสาธารณะกุศลก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ถนนอังรีดูนัง แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ความเป็นมาของสภากาชาดไทยนั้น เนื่องมาจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ฝรั่งเศส ส่งเรือรบมาเปิดปากอ่าวไทย ประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาอธิไตยของชาติได้เกิดมาสู้รบกัน ทหารบาดเจ็บและตาบจำนวนมาก ท่านผู้หญิงเปลี่ยนภาสกรวงศ์ ภริยาเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) จึงคิดจัดตั้งองค์กรการกุศลขึ้น เพื่อช่วยรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บจากการสู้รบ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นทหารฝ่ายใด ทั้งนี้โดยได้รับแนวความคิดมาจากสภากาชาดที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ขณะทรงดำรงพระกิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดตั้งขึ้นได้ โดยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 16 กรกฏาคม พ.ศ. 2436 และทรงรับเป็น "ทานมยูปถัมภก" กับพระราชทานเงินพระคลังข้างที่เป็นทุนประเดิม 80,000 บาท เมื่อจัดตั้งขึ้นนั้นมีชื่อว่า สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดสยาม และเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" สภากาชาดสยามก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดไทย มาจนถึงทุกวันนี้

การดำเนินงานในระยะแรก เจ้านายฝ่ายในและภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้ร่วมมือกันจัดการ โดยบริจาคทรัพย์ กำลังความคิด และกำลังแรง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชาชินีนาถ ทรงดำรงตำแหน่ง "สภานายิกา" เป็นพระองค์แรก สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่ง "สภาชนนี" มีคณะกรรมการเรียกว่า " กรรมการิณีสภา" งานของสภาอุณาโลมแดงได้แก่การจัดกาเครื่องเวชภัณฑ์ ยา อาหาร เสื้อผ้า และของใช้ไปช่วยเหลือทหารที่อยู่ในสนามรบ ยาที่จัดส่งไปให้ในครั้งนั้นมีทั้งยาแผยไทยและยาฝรั่ง

ต่อมา สมเด็จพระสรีสวรินทิราบราราชเทวี ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนมากเพื่อกิจการของสภากาชาดไทย และทรงจัดตั้ง โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ขึ้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2445 และระหว่างพระราชทานทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลเป็นประจำทุกปี และระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่ศรีราชา ทรงส่งแพทย์และเกวียนบรรทุกยาพร้อมทั้งเวชภัณฑ์ออกไปตรวจรักษาราษฎรที่เจ็บ ไข้ตามตำบลและหมู่บ้านต่าง ๆ เสมอ

พ.ศ. 2449 รัฐบาลสวัส ได้เชิญประเทศต่าง ๆ ให้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมเพื่อทำความตกลงเรื่องทหารเจ็บป่วยในยามสงครามที่ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศไทยได้ส่งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เสด็จไปทรงร่วมประชุมด้วย นับเป็นการติดต่อกับต่างเทศของสภากาชาดไทยเป็นครั้งแรก

ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะก่อสร้างโรงพยาบาลของสภากาชาดไทยขึ้น เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว พระบรมชนกนาถ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวนหนึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระราชทานเงินทุนของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่สมทบ ก่อสร้างโรงพยาบาลขึ้น พระราชทานนามว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 สภากาชาดไทยจึงมีโรงพยาบาลในความดูแลรับผิดชอบถึงสองแห่ง และได้เพิ่มขอบข่ายงานเพื่อการสาธารณกุศลได้กว้างขวางมากขึ้น

สภา กาชาดไทยได้เนินกิจการต่อเนื่องมาโดยตลอดเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว ไม่ว่าประเทศจะอยู่ไปภาวะสงครามหรือในยามปกติ และไม่ว่าประเทศจะมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบอบประชาธิปไตย สภากาชาดไทยมีภารกิจ ในการช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วย โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติศาสนา และได้แบ่งการดำเนินงานเป็นส่วนงานต่าง ๆ เช่น

* โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำหน้าที่รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยทั้งในยามปกติ ยามฉุกเฉินหรือเมื่อเกิดสาธารณภัย กับเป็นที่ศึกษาของนิสิตแพทย์และนักศึกษาพยาบาลเพื่อสร้างบุคลากรทางการ แพทย์
* โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ทำหน้าที่รักษาผู้เจ็บป่วยเช่นเดียวกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เดิมชื่อว่า โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา
* วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย จัดการศึกษาวิชาพยาบาลเพื่อสร้างบุคลากรในด้านการพยาบาล ตั้งแต่ระดับผู้ช่วยพยาบาล จนถึงระดับพยาบาลปริญญา
* โรงเรียนรังสี เทคนิค ทำหน้าที่จัดการศึกษาด้านรังสีเทคนิค เพื่อผลิตผู้มีความรู้ด้านรังสีเทคนิคเข้าปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและสถาน พยาบาล
* สถานเสาวภา หรือกองวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่ด้านค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผลิตวัคซีนและเซรุ่ม ป้องกันกละรักษาโรค เป็นสถานที่มีการรีดพิษงูเพื่อนำมาผลิตเป็นเซรุ่มรักษาผู้ที่ถูกงูพิษกัด
* ศูนย์ บริการโลหิตแห่งชาติ มีหน้าที่จัดหาโลหิตจากผู้ที่บริจาคโลหิต แล้วจ่ายให้โรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อการบำบัดรักษาผู้เจ็บป่วยรวมทั้งการแยกส่วนประกอบของโลหิต เพื่อใช้รักษาโรคบางชนิด เนื่องจากในการรักษาพยาบาล มีผู้ป่วยที่ต้องการโลหิตจำนวนมาก เป็นประจำสภากาชาดไทย จึงได้เชิญชวนให้มีการบริจาคโลหิต ในโอกาสต่าง ๆ ณ สถานที่ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะบริจาค สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน เข็มที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิตครบ ตามที่สภากาชาดกำหนด ซึ่งเป็นแรงจูงใจและเป็นความปีติภาคภูมิใจ แก่ผู้บริจาคเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้เปิดสาขาการบริการโลหิตขึ้น ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งได้ช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิตเป็นจำนวนมาก
* ศูนย์ ดวงตา ทำหน้าที่บริจาคดวงตาจากผู้อุทิศดวงตา ซึ่งได้จากผู้บริจาคที่ถึงแก่กรรมแล้ว เพื่อให้จักษุแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้แก่ผู้ที่กระจกตาพิการ สภากาชาดไทยได้จัดให้วันที่ 17 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันศนย์ดวงตาสภากาชาดไทย เพื่อส่งเสริมให้มีการบริจาคดวงตาเมื่อเสียชีวิต อันเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานคำขวัญในวันศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยมาเป็นเวลาช้านาน
นอกจาก ศูนย์ดวงตาแล้ว สภากาชาดไทยยังมีศูนย์รับบริจาคอวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต ตับ หัวใจ จากผู้บริจาคที่เสียชีวิตกะทันหันจากอุบัติเหตุ เพื่อเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้อวัยวะเหล่านั้นมาทด แทน * ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู มีหน้าที่ให้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ผู้ป่วยและผู้พิการจากโรคภัยและอุบัติเหตุ

ข้อมูลจาก www.belovedqueen.com
พระราชประวัติ พระราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชม ภาพพระราชินี รูปพระราชินี อ่าน กลอนพระราชินี ติดตาม พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส โครงการพระราชดำริ และ พระราชกรณียกิจ ของ พระราชินี
◊ เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คําขวัญวันแม่ คําขวัญวันแม่
กลอนวันแม่ กลอนวันแม่
เรียงความวันแม่ เรียงความวันแม่
เพลงแม่ เพลงแม่
วันแม่ วันแม่
วันแม่ ดู รูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ คลิกรูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ




Valid XHTML 1.0 Transitional