ศูนย์สภากาชาดไทย บ้านเขาล้าน จังหวัดตราด


พ.ศ. 2522 เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชาชาวกัมพูชา จำนวนมากอพยพลี้ภัยเข้ามาทางชายแดน ของประเทศไทยหลายด้าน ได้แก่จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แปรพระราชฐาน ไปประทับที่วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ทรงได้รับรายงานจากเลขาธิการสภากาชาดไทยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดในขณะนั้น (นายปัญญา ฤกษ์อุไร) ได้มีหนังสือติดต่อขอความช่วยเหลือมายังสภากาชาดไทย เรื่องกัมพูชาที่อพยพเข้ามาทางชายแดนจังหวัดตราด จำนวนประมาณสี่หมื่นคน มีสภาพที่ตกทุกข์ได้ยากเป็นอย่างยิ่ง บางคนอดตายไปแล้ว อีกจำนวนมากกำลังอดอยากหิวโหยและจวนจะตาย จังหวัดตราดได้พยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่สามารถจะช่วย เหลือได้เพียงพอ เพราะมีความจำกัดในเรื่องเงินค่าใช้จ่าย และกำลังด้านบุคลากร อีกทั้งยังไม่มีหน่วยงานใดมาช่วยเหลือสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในฐานะสภายิกาสภากาชาดไทยได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันทื 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนเป็นที่สุดของชาวกัมภูชาที่อพยพหลบ หนีภัยสงครามกลางเมืองเหล่านั้นผู้อพยพอยู่กันอย่างแออัด ไม่มีน้ำสำอาดที่จะดื่มจะใช้ ไม่มีหลังคากันแดดกันฝน ไม่มีที่สุขา ไม่มีการกำจัดสิ่งปฏิกูล มีแต่ความสกปรกเลอะเทอะเป็นอย่างยิ่ง และมีผู้เจ็บป่วยจำนวนมาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงอำนวยการพระราชทานความช่วยเหลือทันทีทรงพระกรุณาโปรด เกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดส่งคณะผู้แทนพิเศษของสภากาชาดไทย ทั้งอาสาพยาบาลสนาม และอาสาสมัครออกไปช่วยเหลือจัดหาอาหารให้ผู้อพยพได้รับประทาน มีน้ำสะอาดดื่ม มียาบรรเทาความเจ็บไข้ และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ท่าน ผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถอยู่ควบคุมดูมแลการดำเนินงานแทน พระองค์ท่านผู้หญิงและผู้ช่วย ท่านผุ้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ และคุณชวลี อมาตยกุล (คุณจรุงจิตต์ อุรัสยะนนท์ และนางชวลี อมาตยกุล ในขณะนั้น) พักอยู่ที่โรงแรมในจังหวัดตราด และเดินทางเข้าไปศูนย์ผู้อพยพทุกวัน เพื่อดูแลความเป็นอยู่ของผู้อพยพและการก่อสร้างศูนย์สภากาชาดไทยที่มีพระราช เสาวนีย์ให้จัดตั้งขึ้นโดยด่วนที่บ้านเขาล้าน จังหวัดตราด โดยประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดการเรื่องซื้อที่ดินเป็นที่ตั้งศูนย์สภากาชาดไทย ประสานงานกับกรมชลประทาน เพื่อช่วยการก่อสร้างอาคารสร้างฝายเพื่อให้มีน้ำใช้ จัดหาบุคลากรที่จะดูแลศูนย์ จัดหน่วยแพทย์พยาบาล อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่กองบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยจัดสร้างที่พักอาศัย จัดการดูแลเรื่องอาหาร จัดการเรื่องสาธารณสุข ทำให้ผู้อพยพปลอดภัยจากโรคระบาด

เนื่องจากชาวกัมพูชาที่อพยพมา มีทั้งผู้สูงอายุคนหนุ่มสาว และเด็ก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงตระหนักดีว่าประเทศที่สามที่จะรับบุคลากรเหล่านี้ไปมักจะ เลือกรับผู้ที่สามารถประกอบอาชีพได้เป็นลำดับแรก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงฝึกอาชีพขึ้นสอน วิชาชีพแก่ผู้อพยพ เช่น การจักสาน ทำดอกไม้ประดิษฐ์ ทอผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้า การตัดผม รวมทั้งสอนหนังสือทั้งภาษาไทย ภาษาเขมร และถาษาอังกฤษ โดยที่ระยะเวลาของการอพยพลี้ภัยอาจจะนานผู้อพยพควรจะเพาะปลูกพืชผักที่โต เร็วเพื่อนำมารับประทานเองด้วย จึงให้ส่งพันธุ์ ผักไปให้ปลูก ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เช่น ไก่ เพื่อนำมาประกอบอาหารที่มีประโยชน์ทางโภชนาการ ปรากฏว่าในเวลาต่อมาเมื่อชาวกัมพูชาอพยพได้เดินทางไปพำนัก ณ ประเทศที่สาม เช่น ที่ประเทศฝรั่งเศษ ได้ไปเปิดร้านอาหาร เขาบอกด้วยความภาคภูมิใจว่าอาหารหลายรายการที่เขาทำขายและเป็นที่นิยมของผู้ ที่เข้ามารับประทาน เขาได้เรียนรู้และฝึกทำระหว่างที่เขาอยู่ในค่ายอพยพที่เมืองไทย เช่น ก๋วยเตี๋ยวผัด ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงติดตามการดำเนินงานของศูนย์สภากาชาดไทยบ้านเขาล้านอย่างใกล้ชิด เมื่อคณะของท่านผู้หญิงสุประภาดากลับแล้ว หลังจากที่อยู่ดูแลดำเนินงานในระยะแรกเป็นเวลาหลายเดือน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าหน้าที่จากกองราชเลขานุการใน พระองค์ฯผลัดเวรกันไปประจำอยู่ต่อไปอีกหลายเดือน เพื่อดูแลสุขภาพอนามัย และการฝึกอาชีพของผู้อพยพอย่างใกล้ชิด โดยมีผู้ใหญ่ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย คือท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรณจินดา คุณหญิงส่าหรี แพทย์คุณ และคุณจีรนันท์ เศวตนันท์ และนายทหารผู้ใหญ่ที่เกษียณราชการแล้วหลายท่านผลัดเปลี่ยนกันไปดูแลให้คำแนะ นำ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมหลายครั้ง

ศูนย์สภาการชาดไทยบ้าน เขาล้านได้ช่วยเหลือผู้อพยพอยู่หลายปีมีผู้แทนจากหลายประเทศมาเยี่ยมดู กิจการ และให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและสิ่งของอยู่บ้าง ต่อมาเมื่อมีประเทศที่สามรับผู้อพยพแยกย้ายกันไปตั้งภูมิลำเนา และเมื่อสถานการณ์ของประเทศกัมพูชาสงบผู้อพยพบางส่วนเดินทางกลับไป ศูนย์สภากาชาดไทยเขาล้านก็ปิดลงเมื่อ วันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2529

เมื่อ พ.ศ. 2533 ศูนย์ศึกษาการอพยพ องค์การสหประชาชาติได้ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย "รางวัลความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย ประจำปี 1990" (The Center of Migration Studies Immigration and Refugee Policy Award) เพื่อเทิดพระเกียรติที่ทรงช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย จำนวนนับล้านคนตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา


ข้อมูลจาก www.belovedqueen.com
พระราชประวัติ พระราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชม ภาพพระราชินี รูปพระราชินี อ่าน กลอนพระราชินี ติดตาม พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส โครงการพระราชดำริ และ พระราชกรณียกิจ ของ พระราชินี
◊ เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คําขวัญวันแม่ คําขวัญวันแม่
กลอนวันแม่ กลอนวันแม่
เรียงความวันแม่ เรียงความวันแม่
เพลงแม่ เพลงแม่
วันแม่ วันแม่
วันแม่ ดู รูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ คลิกรูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ




Valid XHTML 1.0 Transitional