ศูนย์ราชการุณย์


พ.ศ. 2535 ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริงพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทยได้มีพระราชดำริ ให้สภากาชาดไทยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการช่วยเหลือ ผู้ลี้ภัยที่บ้านเขาล้าน

เพื่อจัดสร้างพิพิธภันฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขึ้น และให้สภากาชาดไทยพัฒนาศูนย์สภากาชาดไทย บ้านเขาล้าน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งได้เปิดเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2529 แล้วทิ้งร้างว่างอยู่ จัดสร้างเป็นพิพิธภันฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และนอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ให้จัดเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ได้ด้วย จึงกำหนดการพัฒนาให้มาสถานที่สำหรับเยาวชนตั้งค่ายพักแรม สวนไม้มงคล สวนสมุนไพร และเรือนพักตากอากาศ โดยมอบหมายให้ทหารพรานนาวิกโยธินหน่วยที่ 3 ดูแลพัฒนาพื้นที่โดยรวม กรมศิลปากรดำเนินการเรื่องการจัดพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบันสถานที่ ณ บ้านเขาล้านที่เคยมีเพิงชั่วคราว ซึ่งใช้เป็นที่ทำการ ที่พัก และหน่วยพยาบาลของสภกาชาดไทย โรงเรียนสำหรับเด็ก โรงฝึกสอนวิชาชีพ สถานที่สำรับเด็กกำพร้าชาวกัมพูชารวมทั้งสถานที่ซึ่งอยู่ในความทรงจำของชาว กัมพูชาหลายแสนคน ที่หนีภัยสงครามอันโหดเหี้ยมจากผู้ร่วมชาติเดียวกัน ผ่านป่าดงดิบเทือกเขาบรรทัดและอันตรายรอบด้านเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเป็น เวลายาวนานถึง 7 ปี ได้เปลี่ยนสภาพไป ปรากฏเป็นอาคารสถานที่ดังต่อไปนี้

ศาลา ราชการุณย์ เป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภากายิกาสภากาชาดไทย มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว จัดแสดงภาพถ่ายเหตุการณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพของผู้อพยพ 4 ครั้ง คือวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2522เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมผู้อพยพที่โรงเรียนบ้านไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากบ้านไม้รูดไปทอดพระเนตรผู้ อพยพ ณ บ้านเขาล้าน วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในศูนย์สภากาชาดเขาล้าน วันที่ 23 กรกฏาคม พ.ศ. 2523 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรอำเภอคลองใหญ่ ทุกภาพแสดงให้เก็นถึงพระมหากรุณาธิคุณด้ายน้ำประราชหฤทัยใสสะอาดความห่วงใย ที่รอบคอบละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงความห่วงใยผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งย่อมได้รับผลกระทบ นอกจากนี้มีหุ่นจำลองขนาดเท่าคนจริง ของจริง เกี่ยวกับผู้อพยพและค่ายอพยพ สภาพชีวิตของคนบ้านแตกเมืองล่มที่ซมซานอย่างน่าเวทนา อีกด้านหนึ่งมีตู้แสดงข้าวของเครื่องใช้ที่ผู้อพยพนำติดตัวเข้ามาเพื่อใช้ สอยแลกหรือขายได้แก่ ธนบัตรที่เคยใช้ในประเทศกัมพูชา เครื่องเงิน ถ้วยชาม และสิ่งของที่ทำขึ้นใหม่ระหว่างพำนักอยู่ในค่ายอพยพ เช่น ทอผ้า เครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้

ศาลาราชการุณย์ในปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของ สภากาชาดไทยเป็นผู้ดูแล มีเจ้าหน้าที่คอยอธิบายให้ความรู้ประประวัติความเป็นมาแก่ผู้เข้าชมเปิดให้ เข้าชมวันพฤหัสบดีถึงวันจันทร์ ปิดวันอังคารและพุธ

สวนไม้มงคลพระราช ทานและสวนสมุนไพร อยู่โดยรอบบริเวณศาลาราชการุณย์มีการปลูกไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดของประเทศไทย ล้อมรอบรูปแผนที่ประเทศไทย ในพื้นที่ราว 16 ไร่ และปลูกพืชสมุนไพรอีกประมาณ 3 ไร่ สวนนี้มีประโยชน์ทั้งทางด้านวิชาการ และทางการแพทย์ แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ ทั้งจะให้ร่มเงาเมื่อต้นไม้เหล่านี้เจริงเติบโตสูงใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาต่อไป

ศูนย์ ฝึกอบรม เป็นสถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับเยาวชนตั้งค่ายพักแรมในการฝึกอบรมหรือทำกิจกรรม ต่าง ๆ ท่ามกลางธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยทะแล ภูเขา ต้นไม้นานาพรรณ

เรือน พักตากอากาศ เป็นเรือนพักชายทะแลหลายหลัง ส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทะแล ด้านหลังเป็นภูเขาสูงปกคลุมด้ายต้นไม้เขียวชอุ่มทั้งไม่ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุก ไม้คุลมดิน รวมทั้งว่านและเห็ด เรือนพักมีหลายขนาด ขนาดสามห้องนอน สี่ห้องนอน และมีขนาดห้องต่าง ๆ กัน เช่น ห้องละ 2 เตียงบ้าง 3 เตียงบ้าง ไปจนถึง 8 เตียง กับมีเรือนโล่งขนาดต่า ๆ มีอุปกรณ์เครื่องนอนต่างหากตามที่ผู้เข้าพักต้องการ ตั้งแต่ 12 ชุดไปจนถึง 40 ชุด สถานที่พักผ่อนนี้สภากาชาดไทยเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป

ศาลา พระพุทธรูปหลวงพ่อแดง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแบบสุดขทัยปางมารวิชัย ซึ่งได้จัดสร้างขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ชาวกัมพูชาที่อพยพมาได้เคารพสักการะเป็นที่พึ่งทางใจ องค์พระพุทธรูปเป็นทองเหลืองรมแดง เมื่อผู้อพยพชาวกัมพูชาแยกย้ายไปหมดสิ้นแล้ว หลวงพ่อแดงได้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่มีต่อผู้อพยพในยามที่ต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง ซึ่งนอกจากจะพระราชทานปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้ว ยังพระราชทานปัจจัยทางจิตใจซึ่งเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งยิ่งอีกด้วย

นอก จากนี้ยังมีอาคารอื่น ๆ ได้แก่ ศาลทุลเกล้าฯ เป็นศาลาโล่งริมหาดที่ใช้ในการรับเสด็จ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ศาลเจ้าแม่เขาล้าน

พระมาหากรุณาธิคุณในการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ ผู้อพยพชาวกัมพูชาครั้งนั้น ทำให้ชาวต่างประเทศที่มาเยือนศูนย์สภากาชาดไทยต่างยกย่องในความเมตตากรุณา และคุณธรรมของคนไทยเหนืออื่นใด คือพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถซึ่งท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ อดีตราชเลขานุการในพระองค์เล่าไว้ในรายการ "จากฟ้า...สู่ดิน" ออกอากาศ ทางสถาวิทยุแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ความตอนหนึ่งว่า

"ทรงหวังว่าประเทศไทย และประชาชนชาวไทยที่ทรงรักและทรงห่วงจะไม่มีวันต้องตกระกำลำบาก และมีเหตุการณ์อย่างที่เขมรประสบเป็นอันขาด สิ่งใดที่คนไทยทำให้แก่ผู้อพยพ จงเป็นผลบุญแก่ประเทศไทย และประชาชนชาวไทย คุ้มครองมิให้ต้องประสบภัยอย่างเดียวกันตลอดไป"


ข้อมูลจาก www.belovedqueen.com
พระราชประวัติ พระราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชม ภาพพระราชินี รูปพระราชินี อ่าน กลอนพระราชินี ติดตาม พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส โครงการพระราชดำริ และ พระราชกรณียกิจ ของ พระราชินี
◊ เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คําขวัญวันแม่ คําขวัญวันแม่
กลอนวันแม่ กลอนวันแม่
เรียงความวันแม่ เรียงความวันแม่
เพลงแม่ เพลงแม่
วันแม่ วันแม่
วันแม่ ดู รูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ คลิกรูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ




Valid XHTML 1.0 Transitional