กำเนิดโครงการศิลปาชิพ

     ทรงริเริ่มโครงการหัตถกรรมเพื่อช่วยเหลือราษฎรเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านเขาเต่า จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนเมษายน 2508 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลโท หม่อมเจ้าประเสริฐศรี ชยางกูร ราชคงรักษ์ เป็นผู้ควบคุมโครงการ โดยทรงชักชวนให้หญิงชาวบ้านเขาเต่า หัดทอผ้าฝ้ายขาย เพื่อเป็นอาชีพเสริม

โดยช่วงระหว่างที่ประทับอยู่ณ พระราชวังไกลกังวล ทรงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้ไปขอครูทอผ้าจากโรงงานทอผ้าบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี มาสอนการทอผ้าให้แก่ราษฎรบ้านเขาเต่า พร้อมทั้งสร้างกี่ทอผ้าขึ้นท้ายวังไกลกังวล ทรงส่งรถไปรับชาวบ้านมาหัดทอผ้า เริ่มจากการทอผ้าขาวม้าและผ้าซิ่นเป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งพระราชทานอาหารกลางวัน และค่าแรงแก่ผู้ทอ และโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์ช่วยกันดูแลเด็กเล็กลูกของราษฎร จนกระทั้งพระราชชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร จึงบ้ายกิจการไปอยู่ใต้ถุนศาลาวัดเขาเต่า โดยเจ้าอาวาสวัดเขาเต่าและครูใหญ่โรงเรียนเขาเต่าช่วยดูแลต่อ

ปัจจุบันโครงการทอผ้าฝ้ายที่เขาเต่าได้เปลี่ยนแปลงเป็นกิจการของกรมการพัฒนาชุมชน โดยพัฒนากรอำเภอหัวหิน เป็นผู้ดูแลโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2511 มีการสอนการทอผ้า ย้อมสี ตัดเย็บ และสอนการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์

โครงการศิลปาชีพอย่างเป็นทางการโครงการแรก คือ โครการทอผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดนครพนม เริ่มจากเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่ จังหวัดนครพนม ทรงสนพระราหฤทัยในซิ่นไหมมัดหมี่ที่หญิง ชาวบ้านนุ่ง เพราะมีความสวยงามแปลกตา เห็นว่าเหมาะที่จะเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านเนื่องจากทุกครังเรือนจะทอใช้กันอยู่ แล้วทรงชักชวนให้ชาวบ้านเริ่มประกอบอาชีพเสริมด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่ และมีพระราชกระแสกับชาวบ้านว่า พระองค์จะ ทรงใช้ผ้าที่พวกเข้าทอซึ่งนับได้ว่าพระราชทานกำลังใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และทรงรับซื้อผ้าที่ชาวบ้านทอทุกผืน โดย ส่งรวมไป ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ต่อมา ปี 2515 ทรงโปรดเกล้าให้ราชเลขานุการในพระองค์ ออกไปติดต่อรับซื้อผ้าไหมถึงบ้านของชาวบ้าน เริ่มจากจังหวัดนครพนม โดยรับซื้อทุกระดับฝีมือ และให้ราคาที่ชาวบ้านพอใจ และทรงรับซื้อผ้าทอประเภทอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ทอด้วย

ราชเลขานุการฯ จะจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมขึ้น ตามหมู่บ้านที่ออกปฏิบัติงาน และรับชาวบ้านเข้าเป็นสมาชิก ผู้ทอผ้าไม่เป็นก็ให้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อเป็นวัถุดิบแก่ผู้ทอ โครงการนี้จึงได้ขยายออกไปจนทั่วภาคอิสาน และเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ราษฎรอย่างกว้างขวางจนถึงทุกวันนี้



ที่มา:จากหนังสือวารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงเจริญพระชนพรรษา 72 พรรษา 12 สิงหาคม 2547
พระราชประวัติ พระราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชม ภาพพระราชินี รูปพระราชินี อ่าน กลอนพระราชินี ติดตาม พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส โครงการพระราชดำริ และ พระราชกรณียกิจ ของ พระราชินี
◊ เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คําขวัญวันแม่ คําขวัญวันแม่
กลอนวันแม่ กลอนวันแม่
เรียงความวันแม่ เรียงความวันแม่
เพลงแม่ เพลงแม่
วันแม่ วันแม่
วันแม่ ดู รูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ คลิกรูปวันแม่ การ์ดวันแม่ซึ้ง ๆ




Valid XHTML 1.0 Transitional